เติมลมยางรถเก๋งใช้ลมไนโตรเจนหรือลมธรรมดาดีกว่ากัน
เป็นข้อสงสัยของผู้ขับขี่หลายๆคนว่า การเติมลมยางรถเก๋งเเบบใช้ลมไนโตรเจนเเละลมธรรมดามีความเเตกต่างกันอย่างไร ส่งผลต่อยางรถยนต์มากน้อยเพียงใด เเละควรเติมลมยางรถเก๋งเเบบไหนกันเเน่ ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าลมทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติที่เเตกต่างกันอย่างไรเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ของผู้ขับขี่
ลมยางรถเก๋งประเภทลมไนโตรเจนประกอบไปด้วยไนโตรเจนเเบบเเห้ง 93- 95 % จึงมีไอน้ำปนอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆหรือเเทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ซึ่งต่างจากลมยางรถเก๋งเเบบธรรมดาที่ประกอบไปด้วยไนโตรเจน 78% เเละออกซิเจนอีก 21% ในส่วนที่เหลือจะเป็นก๊าซอื่นๆ รวมถึงไอน้ำที่มีปริมาณมากกว่าในลมยางไนโตรเจน ซึ่งความเเตกต่างของส่วนประกอบนั้นส่งผลให้ลมยางทั้งสองเเบบมีข้อดีเเละข้อเสียที่เเตกต่างกันไป
ข้อดีของลมยางไนโตรเจน
- - ช่วยรักษาลมยางรถเก๋งให้มีปริมาณที่เหมาะสมได้ระยะเวลานานมากกว่า เนื่องด้วยโมเลกุลไนโตรเจนมีขนาดใหญ่เเละเคลื่อนตัวได้ช้ากว่าโมเลกุลของลมยางธรรมดาจึงทำให้เกิดการรั่วซึมของลมออกจากยางรถได้ยากกว่า ผู้ขับขี่จึงไม่ต้องกังวลว่าลมยางรถเก๋งจะมีปริมาณที่ลดลงเร็วกว่าระยะเวลาที่ควรจะเป็น
- - ลมไนโตรเจนมีความเสถียรกว่า เมื่อขับรถเป็นระยะเวลานาน ย่อมเกิดการเสียดสีกับท้องถนนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยางรถยนต์เกิดการสะสมความร้อนได้ ซึ่งคุณสมบัติของไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย ที่ขยายตัวได้น้อยกว่าลมยางทั่วไป หรือเเทบจะไม่ขยายตัวเลย สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดยางระเบิดเเละช่วยยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์ได้มากยิ่งขึ้น
- - ไม่ทำให้กระทะล้อเป็นสนิม ลมยางไนโตรเจนเป็นก๊าซเเบบเเห้ง ไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบจึงสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดสนิมบริเวณกระทะล้อได้
ข้อเสียของลมยางไนโตรเจน
- - ในปัจจุบันยังมีสถานที่ให้บริการเติมลมยางไนโตรเจนไม่มากนัก ถ้าหากต้องการเติมลมยางรถเก๋งอาจจะต้องตระเวนหาหรือไปตามศูนย์บริการโดยเฉพาะเท่านั้น เเละมักจะต้องเสียค่าจ่ายโดยประมาณ 50 บาทต่อล้อหรือประมาณ 200 บาทต่อครั้งเลยทีเดียว
ข้อดีของลมยางธรรมดา
- - สามารถหาเเหล่งเติมลมยางรถเก๋งได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน อู่ซ่อมรถ หรือศูนย์บริการต่างๆ ก็มักจะมีกันเเทบทั้งสิ้น ที่สำคัญคือการเติมลมยางธรรมดาโดยปกติแล้วจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถประหยัดรายจ่ายต่อเดือนไปได้อีกขั้นหนึ่ง
ข้อเสียของลมยางธรรมดา
- - เนื่องด้วยส่วนประกอบของก๊าซในลมยางรถเก๋งแบบธรรมดานั้นมีไอน้ำ และก๊าซอื่นๆประกอบอยู่มาก เมื่อต้องเดินทางเป็นระยะเวลานาน ก๊าซเหล่านั้นจะเกิดการขยายตัวเเละสะสมความร้อนได้ง่ายส่งผลให้มีเเรงดันลมยางที่มากขึ้น ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รถเกิดความกระด้างระหว่างขับขี่และอาจเกิดการระเบิดของยางได้
เเล้วเราสามารถเติมลมยางรถเก๋งทั้งสองประเภทนี้เข้าด้วยกันได้หรือไม่
การเติมลมยางสองประเภทนี้เข้าด้วยกันไม่ได้ส่งผลอันตรายใดๆเพียงเเค่ ในส่วนของลมไนโตรเจนจะมีความเจือจางลงซึ่งนั่นก็รวมถึงประสิทธิภาพของลมยางที่อาจลดลงจนเหลือเป็นเเค่เพียงลมยางธรรมดา เเละถ้าหากต้องการกลับมาใช้ลมไนโตรเจนใหม่อีกครั้ง ผู้ขับขี่ต้องทำการระบายลมออกจากล้อทั้งหมดก่อนเพื่อใส่ลมไนโตรเจนเข้าไปใหม่เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของยางรถยนต์
ความดันลมยางมากเกินไป
- - เกิดแรงสะเทือนขณะขับขี่
- - ควบคุมและเบรกได้ยาก
- - เพิ่มความเสี่ยงยางระเบิด
- - สึกผิดปกติบริเวณหน้ายาง
(ขยายหรือเปิดรูปในหน้าต่างใหม่เพื่อให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น)
ความดันลมยางต่ำเกินไป
- - สึกหรออย่างรวดเร็ว
- - อายุการใช้งานลดลง
- - กินน้ำมัน
- - สึกผิดปกติบริเวณไหล่ยาง
(ขยายหรือเปิดรูปในหน้าต่างใหม่เพื่อให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น)
ค่าความดันลมยางสูงเกินไปก็กระทบกับการขับขี่ แต่ในขณะเดียวกันค่าความดันลมยางที่ต่ำเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมาด้วยเช่นกัน แต่ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำแนะนำที่ว่า การเติมลมยางรถยนต์ หรือการเติมลมยางรถกระบะต่ำกว่ามาตรฐานจะช่วยให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันทำให้ยางของคุณสึกหรอเร็วมากยิ่งขึ้นต่างหาก
ความดันลมยางที่พอดี
- - ยืดอายุการใช้งานยาง
- - ยางทำงานได้ประสิทธิภาพ
- - ประหยัดน้ำมัน
(ขยายหรือเปิดรูปในหน้าต่างใหม่เพื่อให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น)
รู้หรือไม่? อากาศร้อนก็มีผลกับปริมาณลมยาง
นอกจากปัจจัยบนท้องถนนเเล้ว อากาศก็มีผลต่อปริมาณลมยางรถเก๋งเช่นกัน โดยทั่วไปเเล้วทุกๆอุณหภูมิที่สูงขึ้น 10° F ยางจะสูญเสียลมยางไปประมาณ 1 psi นั่นหมายความว่าหากสภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูงมากขึ้นนั่นก็จะยิ่งทำให้ ลมยางรถเก๋งมีปริมาณลดลงไปมากด้วยเช่นกัน เเละหากปล่อยให้รถมีลมยางน้อยเกินไป อาจทำให้รถเกิดความเฉื่อยเเละใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการลดลงของลมยางรถเก๋งทุกๆ 1 psi จะส่งผลต่อระยะการเดินทางที่ลดลงไปด้วยประมาณ 0.2% จากระยะการใช้น้ำมันที่ควรจะเป็น (อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ)
คุณควรเช็กยางรถ อย่างน้อยเดือนละครั้งหรือทุกครั้งที่เติมน้ำมัน เพื่อให้แน่ใจว่าใช้ความดันลมยางในการเติมลมยางรถยนต์ หรือการเติมลมยางรถกระบะที่เหมาะสม
ถ้าหากพบว่าปริมาณลมยางไม่เพียงพอจะได้เติมลมยางได้ทันท่วงทีซึ่งขั้นตอนการเติมลมยางก็ไม่ได้ยุ่งยากเท่าที่ใครหลายๆคนกำลังกังวลอยู่อย่างเเน่นอน
วิธีเติมลมยางรถเก๋งในปั๊มง่ายๆ ภายใน 5 ขั้นตอน
- 1. หาข้อมูลเเรงดันลมที่เหมาะสมกับรถเเต่ละประเภท ซึ่งจะมีเเรงดันลมยางที่เหมาะสมเเตกต่างกันไป จึงจำเป็นต้องดูก่อนว่าควรเติมลมยางรถเก๋งในปริมาณเท่าใดกันเเน่ สามารถดูได้จากคู่มือรถหรือสติกเกอร์เเนะนำค่าความดันลมยางตามที่ได้กล่าวไปเบื้องต้น
- 2. ตรวจสอบเเรงดันลมยางรถเก๋ง นำหัวจ่ายของตู้เติมลมกดลงไปยังจุกล้อรถจนได้ยินเสี้ยงฟี้เบาๆ จากนั้นตัวเลขของปริมาณลมยางที่มีอยู่ในขณะนั้นจะปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอของตู้เติมลม ผู้ขับขี่สามารถดูได้ว่าขณะนั้นมีลมยางลดลงไปจากค่าที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด
- 3. ตั้งค่าเเรงดันลมยางรถเก๋งที่ต้องการ บนหน้าจอเครื่องเติมลมจะมีเครื่องหมายบวกเเละลบ ซึ่งท่าน สามารถกดเครื่องหมายบวกไปเรื่อยๆ จนได้ค่าเเรงดันลมที่ต้องการตามความเหมาะสม
- 4. เติมลมยางรถเก๋ง เสียบหัวจ่ายลมเข้าไปยังจุกล้อ ลมจะวิ่งเข้าไปยังล้อจนได้ปริมาณลมยางตามที่ได้ตั้งไว้ ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ จากนั้นเครื่องจ่ายจะหยุดเติมลม เเต่ถ้าหากระหว่างเติมลมอยู่มีเสียงฟี่ออกมาตลอดเวลาเเสดงว่ากดหัวจ่ายลงไปผิดจุด ให้ทำการถอดหัวจ่ายลมออกมาก่อนเเละเสียบลงไปใหม่จนได้ปริมาณยางลมที่ต้องการ
- 5. ปิดจุกเติมลม เมื่อเติมลมยางเสร็จ สิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ห้ามลืมคือการนำจุกยางไปปิดจุกล้อรถ เพื่อไม่ให้ลมยางรถเก๋งรั่วซึมออกมาระหว่างขับขี่
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ไม่ควรเติมลมยางขณะยางร้อนหรือเพิ่งผ่านการใช้งานมา เเต่ถ้าหากจำเป็นต้องเติมลมยางในระหว่างยางร้อนจริงๆ ก็ควรเติมลมยางเผื่อขึ้นไปอีกประมาณล้อละ 2-4 psi จากค่าปกติ
ระหว่างการเช็กการเติมลมยางรถยนต์ หรือการเติมลมยางรถกระบะว่าเติมลมเท่าไหร่ แนะนำให้มองหารอยบาดหรือรอยนูนไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ให้ตรวจสอบค่าความดันการเติมลมยางรถยนต์หลังจากจอดรถแล้วสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อรอให้ยางเย็นตัวลงก่อน จึงจะได้ค่าความดันลมยางตามที่เป็นจริง นอกจากนี้คุณสามารถบำรุงรักษารถด้วยตัวของคุณเอง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ วิธีดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น
ดาวน์โหลด อินโฟกราฟิกภาษาอังกฤษ จาก ลิงก์ นี้
ต้องการความรู้การดูแลยางรถยนต์เพิ่มเติมใช่หรือไม่? คลิกเพื่อดูเคล็ดลับและบทความที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี่