การแข่งขันสนามที่สี่ของซีรีส์ Super GT เดินทางมาถึงครึ่งทางของการแข่งขันซึ่งมีทั้งหมดแปดสนาม ภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนระอุช่วยให้การแข่งขันตื่นเต้นเร้าใจเป็นอย่างยิ่ง ทีมที่คว้าชัยชนะทั้งสามคน คือ นะโอะยะ กาโมอุ, ทาคุโระ ชิโนะฮะระ และฮะรุคิ คุโระซะวะ ซึ่งขับรถ LEON PYRAMID AMG ได้แสดงผลงานที่ดีในการวางกลยุทธ์และทักษะจนสามารถคว้าชัยชนะครั้งแรกของฤดูกาลได้สำเร็จโดยเข้าเส้นชัยด้วยเวลา นำมากกว่า 31 วินาที
2024 Autobacs SUPER GT
สนามที่ 4 ฟูจิสปีดเวย์ [รุ่น GT300]
ผลกระทบในรอบควอลิฟาย
การแข่งขันรอบควอลิฟายเกิดการพลิกผันอย่างไม่คาดคิดเนื่องจากวิธีการแข่งขันในรุ่น GT300 ถูกปรับเปลี่ยนอย่างกะทันหันเนื่งจากมีการรั่วไหลของน้ำมันในการแข่งขันก่อนหน้าทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันโดยตัดสินกริดสตาร์ทสำหรับรอบชิงชนะเลิศซึ่งพิจารณาจากเวลาในรอบ Q2 ภายใต้สภาพถนนเปียกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อทีมชั้นนำหลายทีม
รอบควอลิฟาย
PO. | NO. | MACHINE | DRIVER | BEST LAP | TYRE |
---|---|---|---|---|---|
1 | #65 | LEON PYRAMID AMG Mercedes AMG GT3 |
Takuro Shinohara Naoya Gamou Haruki Kurosawa |
1'38.271 1'37.764 |
|
12 | #31 | apr LC500h GT LEXUS LC500h |
Kazuto Kotaka Jin Nakamura Yuki Nemoto |
1'38.848 1'38.754 |
|
18 | #2 | muta Racing GR86 GT TOYOTA GR86 |
Hibiki Taira Yuui Tsutsumi |
1'38.796 1’38.602 |
|
19 | #52 | Green Brave GR Supra GT TOYOTA GR Supra |
Seita Nonaka Hiroki Yoshida |
1'39.188 1'38.769 |
ยูอิ สึซุมิ และฮิบิกิ ทาอิระ (ขับรถ muta Racing GR86 GT) และด้านฮิโรกิ โยชิดะ และเซอิตะ โนนากะ (ขับรถ Green Brave GR Supra) เผชิญกับความท้าทายในการแบกรับน้ำหนักรถสูงสุดถึง 50 กิโลกรัม ข้อเสียเปรียบนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม 8 อันดับแรกของกลุ่มใน Q1 ได้ ส่งผลให้พวกเขาต้องตกไปอยู่กลุ่มล่างใน Q2 ในทางกลับกัน แม้จะแบกรับน้ำหนักรถได้มากถึง 42 กิโลกรัม แต่นะโอะยะ กาโมอุ, ทาคุโระ ชิโนะฮาระ และฮารูกิ คุโรซาวะ (ขับรถ LEON PYRAMID AMG) พร้อมด้วยคาสึโตะ โคทากะ, จิน นากามุระ และยูกิ เนะโมะโตะ (ขับรถ apr LC500h GT) ก็สามารถผ่านเข้ารอบกลุ่มบนใน Q2 ได้สำเร็จ ด้านสามนักแข่งคือ กาโมอุ, ชิโนะฮะระ และคุโรซะวะ คว้าตำแหน่งโพลเป็นครั้งที่สองของฤดูกาลด้วยผลงานอันโดดเด่น
ความเข้มข้นในวันแข่งขัน
วันแข่งขันมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจึงทำให้นักแข่งทุกคนต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นด้วย จากตำแหน่งโพล ทีม LEON PYRAMID AMG ขึ้นนำอย่างรวดเร็วและทิ้งห่างกลุ่มนักแข่งคนอื่นๆ ในรอบต่อรอบ การแข่งขันแทบไม่มีอุบัติเหตุใดๆ เกิดขึ้น มีเพียง Full Course Yellow (FCY) เพียงเล็กน้อยในรอบที่ 26 เมื่อรถ GT300 เกิดปัญหา
วันแข่งขันจริง
PO. | NO. | MACHINE | DRIVER | BEST LAP | TYRE |
---|---|---|---|---|---|
1 | #65 | LEON PYRAMID AMG Mercedes AMG GT3 |
Naoya Gamou Takuro Shinohara Haruki Kurosawa |
1'39.245 | |
8 | #2 | amuta Racing GR86 GT TOYOTA GR86 |
Hibiki Taira Yuui Tsutsumi |
1'39.476 | |
12 | #31 | apr LC500h GT LEXUS LC500h |
Kazuto Kotaka Jin Nakamura Yuki Nemoto |
1'40.293 | |
23 | #52 | Green Brave GR Supra GT TOYOTA GR Supra |
Hiroki Yoshida Seita Nonaka |
1'40.365 |
ในช่วงเวลาสำคัญ ทีม LEON PYRAMID AMG ได้เข้าพิทในเวลาที่เหมาะสมพอดีก่อนที่จะมี FCY การเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์นี้ทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนนักขับและกลับสู่สนามด้วยคะแนนนำที่มากพอสมควร เนื่องจากคู่แข่งของพวกเขาไม่สามารถเข้าพิทได้ภายใต้ FCY ทีมจึงสามารถเข้าพิทได้เร็วกว่า 50 วินาที ซึ่งเป็นคะแนนนำที่พวกเขาจัดการได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดช่วงที่เหลือของการแข่งขัน
นับขับทั้งสามคนยังคงรักษาความเร็ว ควบคุมตำแหน่งของแต่ละคน และในที่สุดก็คว้าชัยชนะด้วยคะแนนนำ 31 วินาที โดยได้รับคะแนนรวม 23 คะแนน และผลักดันให้พวกเขาขึ้นสู่อันดับที่ 2 ในตารางคะแนนชิงแชมป์
คำกล่าวบนเวที
“ผมมีความสุขมากตั้งแต่เข้าร่วมทีม LEON RACING ซึ่งผมสามารถคว้าตำแหน่งโพลได้หลายครั้ง และตำแหน่ง ที่ 2 ได้หลายครั้งเช่นเดียวกัน แต่ผมก็ยังไม่เคยคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ ผมจึงมีความสุขมากกับชัยชนะที่ รอคอยมานานในครั้งนี้ สำหรับช่วงเวลาของผมนั้นผมสามารถทำความเร็วได้ดีตั้งแต่รอบแรกหลังจากออกสตาร์ท และผมสามารถขับรถไปพร้อมกับชมการแข่งขันที่อยู่เบื้องหลังผมได้ ขอบคุณยาง Bridgestone ที่มอบสมรรถนะที่ดีในการขับขี่และรถที่ดีของทีมซึ่งทำให้ผมสามารถขับได้อย่างสบายในช่วงเวลาของผม และจังหวะการเข้าพิทของผมยังเป็นสิ่งที่ดีมากอีกด้วย”
ทาคุโระ ชิโนะฮะระ นับขับผู้ครองแชมป์ (ขับรถ LEON PYRAMID AMG/Bridgestone)
“การแข่งขันในครั้งนี้ผมเป็นทั้งหัวหน้าทีมและนักแข่งคนที่สาม ผมดีใจมากที่เพื่อนนักขับอีกทั้งสองคนคว้าแชมป์มาได้และทีมยังได้ตำแหน่งโพลเป็นครั้งแรก ขอบคุณทุกคนจริงๆ ผมบอกเพื่อนนักขับล่วงหน้าเกี่ยวกับเวลาเข้าพิท เช่น จำนวนรอบของยางที่จะใช้ในพิท และจุดที่หน้าต่างรถจะเปิดในแง่ของน้ำมัน ผมบอกพวกเขาว่า “ถ้าเกิดอะไรขึ้น โปรดแจ้งให้ผมทราบทางวิทยุสื่อสารด้วย” ดังนั้นผมจึงถามชิโนะฮะระว่า “น้ำมันรถยังโอเคอยู่ไหมถ้าผมจะเข้าพิทที่นี่” และเขาก็บอกว่า “ยังโอเคอยู่” ดังนั้นผมจึงตัดสินใจเข้าพิท ผมยังถามวิศวกรประมาณ 300 ครั้งว่าน้ำมันจะหมดไหม (หัวเราะ) ผมขอให้กาโมอุช่วยประหยัดน้ำมันนิดหน่อย แต่สำหรับเรื่องยางผมไม่กังวลเลยครับ”
ฮะรุคิ คุโระซะวะ หัวหน้าทีม และนับขับผู้ครองแชมป์ (ขับรถ LEON PYRAMID AMG/Bridgestone)
“พวกเราไม่ได้กังวลมากนัก แต่ในขณะเดียวกันยางคู่แข่งของเราก็ทำผลงานได้ดีในการแข่งขันรอบสุดท้ายเช่นกัน เราแปลกใจว่าสิ่งต่างๆ จะเป็นตามที่คาดคิดได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ทีมกาโมอุ, ชิโนะฮะระ และคุโระซะวะ ขึ้นนำทันทีหลังจากเริ่มการแข่งขัน และสามารถเข้าพิตได้ก่อนการมี FCY ซึ่งกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราคว้าชัยชนะ แต่ถึงแม้จะไม่เป็นเช่นนั้น ผมก็ยังคิดว่าเราคงชนะได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องสมรรถนะของยาง นอกจากนี้ ทีมสึซุมิ /ทาอิระ ที่อยู่อันดับต้นๆ ก็สามารถทำคะแนนให้เราได้อีกครั้ง ส่วนเรื่องการเปลี่ยนยางนั้นไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในเรื่องความทนทานภายใต้สภาวะที่ยากลำบากเช่นนี้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่ากลยุทธ์ของทีมใดจะได้เปรียบมากกว่ากัน เราประสบความสำเร็จสูงสุด โดยคว้าตำแหน่งโพลในการแข่งขันทั้งรุ่น GT500 และ GT300”
ทากาฮิโกะ ยามาโมโตะ ผู้จัดการพัฒนายางบริดจสโตนสำหรับการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต