ซุเปอร์จีที (SUPER GT) ซีรี่ส์การแข่งรถทัวริ่งคาร์ระดับท็อปของญี่ปุ่นกำลังฉลองฤดูกาลแข่งขันปีที่ 30 ในปีนี้ในฐานะส่วนหนึ่งของรายการแข่งขันจีทีชิงชนะเลิศแห่งญี่ปุ่นหรือ Japan GT Championship ในปีนี้มีการเริ่มดำเนินการตามโร้ดแมพหรือแผนการด้านสิ่งแวดล้อม SUPER GT Green Project 2030 โดยกำหนดให้ใช้จำนวนยางในการแข่งขันแต่ละครั้งให้น้อยลง อีกทั้งยังมีการปรับวิธีการควอลิฟาย
2024 Autobacs SUPER GT
สนามที่ 1 โอคายามะ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต [รุ่น GT500]
โช สึโบอิ/ เคนตะ ยามาชิตะ (au TOM'S GR Supra/BS)
คว้าชัยชนะจากตำแหน่งสตาร์ทหัวแถวในการแข่งขันสนามแรกของฤดูกาล โดยรักษาตำแหน่งได้ตั้งต้นจนจบ ยกเว้นแต่เพียงช่วงสับเปลี่ยนผู้ขับเท่านั้น โดยจบการแข่งขันนำห่างที่สองมากถึง 11 วินาที ทั้งคู่ยังทำเวลาต่อรอบดีที่สุดของการแข่งขันจนคว้าได้ชัยชนะที่สมบูรณ์แบบ
อันดับที่สองตกเป็นของยูฮิ เซกิกูชิ/ ยูอิชิ นากายาม่า (DENSO KOBELCO SARD GT Supra/ BS) และที่สามได้แก่นาโอกิ ยามาโมโต้/ นินซุเกะ มากิโนะ (STANLEY CIVIC TYPE-R-GT/BS) โดยผู้ใช้ยางบริดจสโตนสามารถครองเก้าอันดับแรก
กติกาใหม่ปี 2024 เรื่องยางที่ใช้ในการควอลิฟายปี ค.ศ. 2024
สำหรับรุ่นการแข่งขัน 300 กม. นั้นได้กำหนดจำนวนยางที่ใช้ได้ไว้ที่สี่ชุดซึ่งน้อยกว่าเดิมหนึ่งชุดในฤดูกาลที่ผ่านมา และระหว่างการควอลิฟายถึงเส้นสตาร์ทนั้นให้ใช้ได้ชุดเดียว
นอกจากจะไม่มีรถแข่งคันใดถูกคัดออกจากการควอลิฟายรอบ Q1 ทุกคันต้องควอลิฟายทั้งรอบ Q1 และ Q2 โดยตำแหน่งสตาร์ทจะถูกกำหนดด้วยเวลาควอลิฟายทั้งสองรอบ ด้านสภาพแวดล้อมทั้งอุณหภูมิอากาศและถนนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงทำการทดสอบร่วมอย่างเป็นทางการเมื่อราวหนึ่งเดือนที่แล้ว
เวลาควอลิฟายเร็วสุดรอบ Q1 เป็นของ อาร์. ควินทาเรลลี/ คัตซุมาซะ ชิโยะ (MOTUL AUTECH Z/BS) ตามด้วย ฮิโรอะกิ อิชิอุระ/ ฟูมิกิ โอยุ (KeePer CERMO GR Supra/BS) ในรอบ Q2 พวกเขายังใช้ยางชุดเดิมที่ใช้ในรอบ Q1 แต่คู่ของ สึโบอิ/ ยามาชิตะ ที่สามารถขึ้นทำเวลารวมดีสุดได้ ส่วนเวลาที่คู่ของสึโบอิ/ ยามาชิตะทำได้ใน Q2 ด้วยยางที่ใช้แล้วยังดีกว่าเวลาของยามาชิตะ ใน Q1 ที่ใช้ยางใหม่เสียอีก และยังเร็วกว่าที่สอง 0.2 วินาทีของคู่เซกิกูชิ/ นากายามา ด้านอันดับ 3 เป็นของยามาโมโต้/มากิโนะ
สึโบอิและยามาชิตะคว้าชัยสามสนามรวด
การแข่งขันระยะทาง 300 กม. เริ่มต้นขึ้นในสภาพอากาศฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 26 องศาก่อนสตาร์ท นักแข่งแถวหน้าออกสตาร์ทได้ดี แต่แถวกลางเกิดการกระทบกันจนกลายเป็นการชนหลายคันและรถของโกดาอิ สึคาโกชิ/ คาคุโนชิน โอตะ (Astemo CIVIC TYPE-R-GT/BS) แน่นิ่งกลายสนาม รถเซฟตี้จึงถูกส่งออกมานำตั้งแต่รอบแรกจนถึงปลายรอบที่หก
หลังจากทำการสตาร์ทใหม่ คู่ของสึโบอิ/ ยามาชิตะ ได้พุ่งขึ้นนำทิ้งห่างคันอื่นๆ ยางหนึ่งชุดที่ใช้ตั้งแต่การควอลิฟาย ถึงเริ่มแข่งขัน ยังต้องใช้วิ่งไปอีกอย่างน้อย ⅓ ระยะทางแข่งขัน (28 รอบสนาม) ตามกำหนดขั้นต่ำสำหรับนักแข่งทุกคน
เมื่อถึงรอบที่ 18 รถของอิชิอุระ/ โอยุ สามารถแซงรถของยามาโมโต้/ มากิโนะ ได้และไต่อันดับขึ้นเป็นที่ 3 แต่หลังรอบที่ 28 รถทั้งสองคันก็เข้าพิทพร้อมๆ กันเพื่อสับเปลี่ยนผู้ขับ เมื่อออกจากพิทได้ยามาโมโต้/ มากิโนะ สามารถแก้เกมคืนด้วยการทวงตำแหน่งที่ 3 ได้สำเร็จ
ตำแหน่งที่ 2 ของคู่ เซคิกูชิ/ นาคายามา ได้เข้าพิทหลังจากรอบที่ 30 ส่วนผู้นำคือรถของสึโบอิ/ ยามาชิตะ ได้เข้าพิทในรอบถัดไป ตำแหน่งของทีมชั้นนำยังคงเดิมตั้งแต่ออกสตาร์ทบนสนามแข่ง ยกเว้นคันที่ถูกผลกระทบจากอุบัติเหตุในรอบแรก คู่ของสึโบอิ/ ยามาชิตะ ทำเวลาต่อรอบได้ดีสม่ำเสมอในช่วงที่สองนี้จนทำให้คว้าชัยชนะไปอย่างห่างลอย ทำให้คว้าชัยชนะในสนามที่สามติดต่อกันต่อจากปีก่อน
- - -
"“การคว้าชัยสามสนามติดต่อกันนับตั้งแต่ปลายฤดูกาลที่แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในซีรีส์การแข่งขันนี้ ผมเชื่อว่านี้คือผลงานรวมของทีมงานและยามาชิตะ พอรถเซฟตี้คาร์ออกไปหลังรีสตาร์ทผมสามารถขึ้นนำไปได้ประมาณ 3 วินาที สมรรถนะของยางถือว่าเสถียรมาก ยามาชิตะบอกว่าขอเขาสัก 20 วินาทีนะ แต่ผมทำได้ประมาณ 10 วินาทีกว่าๆ หลังจากนั้นพอผมส่งรถให้เขาขับต่อก็ขอให้เขาทำให้ดีที่สุด ชัยชนะทำให้เราต้องแบกความหวังเพิ่ม แต่การแข่งสนามถัดไปยาวสามชั่วโมง ซึ่งผมคิดว่าเรามีโอกาสชนะได้ ฉะนั้นผมตั้งเป้าที่จะคว้าชัยชนะต่อเนื่องให้ได้”
โช สึโบอิ ผู้ชนะ (au TOM'S GR Supra/Bridgestone)
“เป็นการแข่งที่ดีมากและผมขอขอบคุณทีมงานและสึโบอิ ผมรู้ตั้งแต่แรกว่าต้องขับยาว ทางทีมจึงกำชับให้ดูแลยางให้ดี แต่ยางก็เกาะได้อย่างเสถียรมาก ผมจึงทำเวลานำได้เยอะ ที่สึโบอิ ทำเวลานำให้ 10 วินาทีนั้นพอผมได้ขับต่อมันลดลงเหลือ 4 วินาที ผมจึงตัดสินใจว่าต้องเร่งเครื่องขึ้นแล้วๆ ผมก็ยืดเวลาห่างจากคันหลังกลับคืนเป็นมากกว่า 10 วินาทีจนได้ ในการแข่งสนามต่อไปผมอยากแสดงความเร็วที่มีมากกว่ารอบควอลิฟายครับ"
เคนตะ ยามาชิตะ ผู้ชนะ (au TOM'S GR Supra/Bridgestone)
“เราได้แสดงให้เห็นตลอดตั้งแต่การควอลิฟายไปจนถึงการแข่งขันจริงว่าเราให้ความเร็วที่คงที่ อุณหภูมิอากาศและถนนได้เพิ่มสูงอย่างมากจากตอนทดสอบอย่างเป็นทางการในโอกายามา แต่เราก็ไม่กังวล ถึงแม้จำนวนยางที่ให้ใช้ได้จะถูกลดลง เราได้ขอให้แต่ละทีมได้เก็บยางที่เหมาะกับสภาพการแข่งขันปานกลางและใช้ชุดนั้นเป็นจุดศูนย์กลางเพื่อเลือกยางชุดที่สูง (แข็ง) และต่ำ (นิ่ม) กว่ากัน ถึงกระนั้นยางแต่ละตัวก็มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวและช่วงการใช้งานที่หลากหลายผมคิดว่ายางที่เรามอบให้ใช้ไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อมาใช้แข่งปีนี้โดยเฉพาะ แต่เป็นการต่อยอดจากแต่ก่อน ยางเรามาได้ถูกทางแล้วดังนั้นผมมั่นใจในสมรรถนะของยาง ต่อจากนี้ไปกุญแจสำคัญในการควอลิฟายคือการปรับแต่งค่าต่างๆ ให้เข้ากับยางที่ใช้แล้วและการปรับลมยาง”
ทาคาฮิโกะ ยามาโมโต้ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนายางมอเตอร์สปอร์ต ของบริดจสโตน