2024 Autobacs SUPER GT

สนามที่ 1 โอคายามะ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต [รุ่น GT300]

การแข่งขันทัวริ่งคาร์ซีรีส์สุดยอดของญี่ปุ่นที่ดำเนินมาครบรอบปีที่ 30 ในปีนี้มีการปรับกติกาด้านจำนวนยางที่ใช้ได้กี่ชุดและวิธีการจัดอันดับควอลิฟาย ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมานี้แต่การแข่งขันกันเพื่อชัยชนะระหว่างรถแข่งที่ใช้ยางบริดจสโตน ทั้งสองคันที่ได้คว้าตำแหน่งแถวหน้าในรอบคัดเลือกมีความสูสีกันที่สุด โดยยูอิ สึซุมิ และฮิบิกิ ทาอิระ ได้คว้าชัยชนะไปครองในซีรีส์การแข่งขันนี้เป็นครั้งแรก และเป็นที่น่ายินดีคือรถที่เข้าแข่งขันซึ่งใช้ยางบริดจสโตนต่างจบการแข่งขันทุกคันในสนามแรกนี้พร้อมเก็บคะแนนสะสมไปครอง

ผู้ใช้ยางบริดจสโตนคว้ากริดสตาร์ทแถวหน้า

ระหว่างดำเนินการควอลิฟาย รุ่น GT300 ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม A และ B และในการควอลิฟายทั้งสองรอบคือ Q1 และ Q2 อย่างเช่นเคย  อย่างไรก็ตามในปีนี้รถแข่งแปดอันดับแรกของแต่ละกลุ่มในรอบ Q1 จะได้รับการควอลิฟายเป็นกลุ่ม 1 (อันดับบน) ในรอบ Q2 เพื่อหาตำแหน่งกริดระดับท็อป ในขณะที่อันดับ 9 และต่ำกว่านั้นในรอบ Q1 จะถูกจัดเป็นกลุ่ม 2 (17 อันดับล่าง) เพื่อควอลิฟายอันดับ 17 ลงไป  หากรถแข่งคันใดในกลุ่มล่างสามารถทำเวลาดีกว่ากลุ่มอันดับบน ระบบจะทำการขยับขึ้นไปได้ระหว่างอันดับที่ 13 ถึง 20

ด้านคู่ของสึซุมิ-ทาอิระ สามารถคว้าอันดับต้นของกลุ่ม B ในรอบ Q1 และคู่ของกาโม่-ชิโนฮาร่าได้ตามพวกเขามาอย่างสูสีในรอบ Q2 และสามารถคว้าอันดับ Pole มาครองได้ ซึ่งกริดสตาร์ทแถวแรกมีแต่ผู้ใช้ยางบริดจสโตนทั้งหมด รวมถึงอันดับที่ 8 ของกลุ่มอันดับบนก็เป็นผู้ใช้ยางบริดจสโตนเช่นเดียวกัน

 

muta Racing GR86 GT comes from behind and holds on to win

กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนยางในระหว่างการแข่งขันช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

การแข่งขันเริ่มต้นขึ้นในวันแดดจัดของหน้าร้อนและเป็นไปได้ด้วยดี กลุ่มอันดับบนเกาะกลุ่มกันโดยรอดจากการชนกันหลายคันกับในรุ่น GT500  ตำแหน่งสตาร์ทยังคงเดิมภายหลังรถเซฟตี้ออกจากสนามไปแล้ว และมีการแลกอันดับไปมาถึงอันดับ 6  ข้างหลังนั้นทั้งคู่โยชิดะ-โนนากะ กับคู่โอดากะ-นากามูระ ได้ต่างขยับขึ้นหนึ่งตำแหน่งในช่วงต้น  ภายหลังจากที่รถแข่งได้วิ่งจำนวนรอบสนามขั้นต่ำสำหรับการเปลี่ยนนักขับ ทั้งสองคันได้ทำการเข้า Pit และสับเปลี่ยนนักขับโดยใช้กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนยาง ซึ่งช่วยให้พวกเขาไต่อันดับได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่วนคู่ของสึซุมิ-ทาอิระที่วิ่งอยู่ที่สองก็ไม่ได้เปลี่ยนยางเช่นเดียวกัน

แต่ตอนนั้นรถแข่งกลุ่มนำของคู่กาโม่-ชิโนฮาร่า และอีกหลายคันยังไม่เข้า Pit Stop สำหรับกลุ่มถัดมาที่เข้า  Pit Stop  แล้ว คู่ที่นำคือสึซุมิ-ทาอิระ ตามด้วยโยชิดะ-โนนากะ  ส่วนที่สี่เป็นของคู่โกดากะ-นากามูระ  สำหรับคู่กาโม่-ชิโนฮาร่า ได้เข้า Pit หลังรอบที่ 49 ในช่วงท้ายของการแข่งขัน  และหลังจากเปลี่ยนยางสี่เส้นก็ได้แข่งขันต่อโดยไล่เป็นอันดับ 3 ตามหลังคู่ของโยชิดะ-โนนากะ  ด้านคู่ของกาโม่-ชิโนฮาร่า ต้องไล่อีก 10 รอบเพื่อไต่ขึ้นเป็นอันดับ 2  ในช่วงท้ายสุดคู่ของกาโม่-ชิโนฮาร่าถึงแม้ได้เปรียบในคุณสมบัติที่ดีของยางแต่ก็แซงคู่ของสึซุมิ-ทาอิระ ไม่ได้แต่ก็กระชั้นขึ้น  ทางด้านคู่ของโยชิดะ-โนนากะ ตกในสถานการณ์ลำบากและไม่สามารถรักษาตำแหน่งที่ 3 ไว้ได้จึงจบการแข่งขันด้วยตำแหน่งที่ 4 ซึ่งไม่ได้ขึ้นเวทีรับรางวัล  ส่วนคู่ของโอดากะ-นากามูระ จบการแข่งขันสนามแรกด้วยตำแหน่งที่ 5

 

 

- - -

"ในปี พ.ศ.2566 ผมได้ที่ 2 มาครองถึงสามครั้ง ถึงแม้ผมจะไม่ชนะในครั้งนั้น แต่ผมมีดีใจที่ในตอนนี้เพราะสามารถคว้าชัยชนะมาได้ตั้งแต่ต้นปี ทางทีมบอกผมว่าเราจะใช้กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนยางในระหว่างการแข่งขัน ผมรู้สึกเหนื่อยเหมือนกันว่าจะทำอย่างไรให้รถแข่งวิ่งได้เร็วขึ้นในช่วงที่เวลาลดลง แต่ผมก็สามารถเข้าเส้นชัยได้โดยรถแข่งหมายเลข 65 แซงผมไม่ได้ ปีนี้ผมมั่นใจที่จะไม่ทำให้การแข่งขันผิดพลาดครับ" 

ยูอิ สึซุมิ นักแข่งผู้คว้าชัยชนะ (muta Racing GR86 GT/Bridgestone)

""ฤดูกาลแข่งขันที่แล้วเราได้ที่ 2 มาครองถึงหลายครั้ง แต่ในครั้งนี้ผมดีใจที่สามารถคว้าชัยชนะ มาได้ตั้งแต่ต้นปีและถือเป็นการเริ่มต้นสิ่งดีๆ ด้วยกลยุทธ์เราคือไม่เปลี่ยนยางในระหว่างการแข่งขัน ผมทำหน้าที่รักษายางไว้ได้ดีและสามารถเข้า Pit และออกไปนำหน้ารถแข่งคันอื่นๆ ที่ตามหลังเราหนึ่งรอบได้พอดี จึงทำให้ได้ผลงานที่ดี สนามถัดไปคือการแข่งขันที่ฟูจิ ซึ่งผมอยากคว้าชัยชนะมาครอง ถึงแม้ครั้งก่อนผมอยากชนะที่ฟูจิแต่ไม่สมหวังก็ตาม" 

ฮิบิกิ ทาอิระ ผู้ชนะการแข่งขัน (muta Racing GR86 GT/Bridgestone)

""เช่นเดียวกับการแข่งขันรุ่น GT500 เราได้ส่งมอบยางตามแนวทางการพัฒนาล่าสุดของการแข่งขัน สำหรับการแข่งขันรุ่น GT300 ซึ่งมีรถแข่งที่แตกต่างกัน ดังนั้นยางบริดจสโตนจึงเป็นยางที่เหมาะกับรถทุกประเภท เราส่งมอบยางที่เข้ากันได้กับรถแข่งในรูปแบบที่มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากรถแข่งหมายเลข 65 แล้วเราได้ใช้กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนยาง ในระหว่างการแข่งขันซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้นักแข่งไต่อันดับได้ และขอแสดงความยินดีกับนักแข่งรถหมายเลข 88 กับการคว้าชัยชนะในครั้งนี้ ”

ทากาฮิโกะ ยามาโมโตะ ผู้จัดการพัฒนายางบริดจสโตนสำหรับการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต